โครงงานวิทยาศตร์เรื่อง กลิ่นเหม็นในรองเท้าหายง่ายนิดเดียว

วันนี้เรามาแก้ปัญหาง่ายๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของทุกคนกับโครงงานวิทยาศาสตร์ง่ายๆ ที่สามารถทำใช้ได้เองน่ะค่ะ
โครงงานวิทยาศตร์เรื่อง กลิ่นเหม็นในรองเท้าหายง่ายนิดเดียว
ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงาน นางสาวสุภาวดี ประสมศรี
ปีการศึกษา 2553
สถานที่จัดทำ โรงเรียนบ้านหนองสะเดา อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6
บทคัดย่อ
ในช่วงปลายสุดสัปดาห์ ขณะที่นั่งเรียนก็จะมีกลิ่นเหม็นของรองเท้าและถุงเท้าโชยมาทำลายบรรยากาศในการเรียนโดยเฉพาะรองเท้าของนักเรียนชาย ซึ่งจะมีกลิ่นเหม็นมาก สมาชิกกลุ่มจึงคิดที่จะทำโครงงานกำจัดกลิ่นเหม็นของรองเท้าขึ้นโดยใช้สารส้ม และถ่านไม้ เนื่องจากสารส้มและถ่านไม้มีคุณสมบัติข้อหนึ่งที่สามารถดับกลิ่นเหม็นได้ และเมื่อนำสารทั้งสองชนิดมาบดละเอียด แล้วผสมกันโดยมีกาวเป็นตัวประสาน ในอัตราส่วนของสารส้ม : ถ่านไม้ = 20 : 80 , 30 : 70 , 40 : 60 และ 50 : 50 ผลปรากฏว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณอัตราส่วนของถ่านไม้มากกว่า (20 : 80 ) จะกำจัดกลิ่นเหม็นได้ดีที่สุด โดยใช้เวลาน้อยที่สุด ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณอัตราส่วนของถ่านไม้น้อยก็จะใช้เวลานานมากขึ้นในการกำจัดกลิ่นเหม็น
ผลจากการทดลองทำให้ได้ผลิตภัณฑ์กำจัดกลิ่นเหม็นของรองเท้าที่มีราคาถูก สามารถกำจัดกลิ่นเหม็นได้จริง และยังสามารถนำไปพัฒนาให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นได้
ที่มาและความสำคัญ
รองเท้าเหม็นเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจและยังส่งผลให้เท้ามีกลิ่นเหม็นเกิดเชื่อโรคและเชื้อราทำให้เท้ามีสุขภาพไม่ดี ดังนั้นเราจึงต้องหาวิธีกำจัดกลิ่นเหม็นของรองเท้า โดยใช้สารที่ได้จากธรรมชาติไม่ใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อเท้า จากการสังเกตในชีวิตประจำวันพบตัวอย่างการนำถ่านไม้ไปใส่ในตู้เย็นเพื่อดับกลิ่นเหม็นของตู้เย็นและตัวอย่างการนำสารส้มมาถูตัวหลังอาบน้ำเพื่อระงับกลิ่นกาย ในการทดลองครั้งนี้ กลุ่มของเราจึงเลือกใช้ถ่านไม้และสารส้มในการดับกลิ่นเหม็นของรองเท้า

จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อกำจัดกลิ่นเหม็นของรองเท้าโดยไม่ใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อเท้า
2. เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นรองเท้า
3. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบอัตราส่วนที่เหมาะสมในการกำจัดกลิ่นรองเท้าของถ่านไม้และสารส้ม

สมมติฐานของการทดลอง
การนำถ่านไม้และสารส้มผสมกันสามารถกำจัดกลิ่นเหม็นของรองเท้าได้

ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น ถ่านและสารส้ม
ตัวแปรตาม ระยะเวลาในการดับกลิ่น
ตัวแปรควบคุม ปริมาณอัตราส่วนระหว่างถ่านไม้และสารส้ม

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. สามารถกำจัดกลิ่นเหม็นของรองเท้าได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก
2. ได้ฝึกทักษะและกระบวนการทางวิทาศาสตร์
3. สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ว่ารองเท้าจะไม่มีกลิ่นเหม็น
4. กลิ่นเหม็นภายในรองเท้าจะไม่ได้รบกวนผู้อื่น

ขอบเขตของโครงงาน
ถ่านไม้และสารส้มบดละเอียดผสมกันในอัตราส่วนต่างๆ โดยมีกาวเป็นตัวประสาน นำมากำจัดกลิ่นเหม็นของรองเท้า

อุปกรณ์และวิธีการทดลอง
วัสดุอุปกรณ์-สารเคมี
สารเคมี อุปกรณ์
ถ่านไม้ ครก สาก
สารส้ม ผ้าด้ายดิบ
กาวลาเท็ก บีกเกอร์ขนาด 100 cm3
แท่งแก้วคนสาร กรรไกร
วิธีการทดลอง
1.นำถ่านไม้และสารส้มโขลกให้ละเอียดและตัดผ้าด้ายดิบให้มีลักษณะเหมือนพื้นรองเท้าจำนวน10 ชิ้น
2.นำถ่านไม้และสารส้มบดจากข้อ 1 มาผสมกันในอัตราส่วนของสารส้ม: ถ่านไม้ = 20:80 และนำมาผสมให้พอเหมาะ คนให้เข้ากัน
3.นำสารผสมจากข้อ 2 เทลงในผ้าด้ายดิบที่ตัดไว้เกลี่ยให้ทั่วผืนผ้าและนำผ้าอีก 1 ชิ้นประกบทับด้านบนแล้วตากแดดให้แห้ง
4.ทำเช่นเดียวกับข้อ 2 และ ข้อ 3 แต่เปลี่ยนปริมาณอัตราส่วนของสารส้มและถ่านไม้เป็น
30: 70, 40: 60 และ 50:50
5.นำผลิตภัณฑ์ที่ได้จากข้อ 3 และข้อ 4 มาทดลองเปรียบเทียบเวลาในการดับกลิ่นรองเท้า โดยนำไปใส่ไว้ในรองเท้าและพิสูจน์กลิ่นทุก ๆ 30 นาที
สรุปผลการศึกษา
จากผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณอัตราส่วนของสารส้มและถ่านไม้ต่างกัน เมื่อนำมาทดลองกำจัดกลิ่นรองเท้าหนังและรองเท้าผ้าใบ ปรากฏว่า เวลาที่ใช้ในการดับกลิ่นจะแตกต่างกัน คือ ผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณอัตราส่วนของถ่านมากกว่าสามารถกำจัดกลิ่นได้ดีที่สุด โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้ใช้ระยะเวลาในการกำจัดกลิ่นเหม็นของรองเท้าหนังน้อยกว่าระยะเวลาที่ใช้ในการกำจัดกลิ่นเหม็นของรองเท้าผ้าใบ
ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราส่วนสารส้ม : ถ่านไม้ = 20:80 ใช้เวลาเฉลี่ย 2 ชั่วโมง 33 นาที เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เวลาน้อยที่สุดในการกำจัดกลิ่นในรองเท้าหนัง
ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราส่วนสารส้ม : ถ่านไม้ = 20:80 ใช้เวลาเฉลี่ย 15 ชั่วโมง 17 นาที เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เวลาน้อยที่สุดในการกำจัดกลิ่นในรองเท้าผ้าใบ

อภิปรายผล
ผลิตภัณฑ์ที่มีถ่านไม้มากกว่าสารส้มกำจัดกลิ่นได้ดีกว่า เพราะถ่านไม้มีคุณสมบัติดูดกลิ่นเหม็นดังตัวอย่าง การดูดกลิ่นเหม็นในตู้เย็นของถ่านไม้ แต่สารส้มนั้นมีคุณสมบัติระงับกลิ่นหรือป้องกันกลิ่นเท่านั้น

ข้อเสนอแนะ
1.ในการดับกลิ่นเหม็นในรองเท้าหนัง ไม่ควรใส่ไว้ในรองเท้านานเกินกว่า 10 ชั่วโมง เพราะจะทำให้รองเท้ามีกลิ่นกาว
2.การผสมระหว่างถ่านไม้และสารส้ม ควรผสมถ่านไม้และกาวก่อน จึงนำสารส้มมาผสมหลังสุดและเมื่อผสมแล้วก็ควรเทใส่ผ้าด้ายดิบที่ตัดไว้ทันที
3.เพิ่มสมุนไพรชนิดอื่นที่มีกลิ่นหอมลงไปในส่วนผสมจะทำให้รองเท้ามีกลิ่นหอมมากขึ้น

เกี่ยวกับ krutook11

ครูผู้ช่วย โรงเรียนบ้านหนองสะเดา อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา สพป.นม. 6
ข้อความนี้ถูกเขียนใน Uncategorized คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

40 ตอบกลับที่ โครงงานวิทยาศตร์เรื่อง กลิ่นเหม็นในรองเท้าหายง่ายนิดเดียว

  1. krutook11 พูดว่า:

    ลองทำดูน่ะค่ะ กลิ่นเหม็นหายจริงๆ

  2. ต้นน้อย พูดว่า:

    เยี่ยมมากเลยครับ ชื่นชม ไม่ทราบว่าได้รางวัลระดับไหนบ้างครับ

  3. tehh พูดว่า:

    มีอายุการใช้งานนานมั๊ยครับ กว่าจะหมดคุณสมบัติการดูดกลิ่น

  4. narin พูดว่า:

    แล้วผล การทด ลองละครับ ไม่เห็นมี มีแต่สรุปเลย หรอ ครับ ช่วยบอกผม น่อย

    ผมอยากรู้

  5. jejee พูดว่า:

    อ่านวิธีแล้วไม่ค่อยเข้าใจเท่าไร
    นำกาวมาแปะตอนไหนยังไงบ้างหรอค่ะ ?

    • krutook11 พูดว่า:

      พอผสมกันเรียบร้อยแล้วก็นำมาเกลี่ยบางๆบนแผ่นผ้าค่ะ แล้วนำไปตากให้แห้ง นำแผ่นผ้าอีกแผ่นมาประกบแล้วเย็บค่ะ

  6. popzazaa16 พูดว่า:

    ดีมากเลยน่าจะมีแบบนี้อีกเยาะขอบคุน

    • krutook11 พูดว่า:

      ขอบคุณค่ะ มีโครงงานคุญธรรมด้วยสนใจมั้ยค่ะ เพิ่งทำของปีการศึกษานี้ ระดับประถมค่ะ

  7. nan พูดว่า:

    ไม่เข้าใจ วิธีทำอ่ะค่ะมีรูปมั้ย ค่ะอยากเห็นอ่ะค่ะ

  8. nui พูดว่า:

    แล้วมีกลิ่นแนะนำบ้างใหมค่ะ

  9. GaMe_Na_Ja พูดว่า:

    ผมขอยืมไปทำโครงงาน วิทยาศาสตร์ที่วิทลัย หน่อย นะครับผม…!

  10. Horii พูดว่า:

    ถ่านไม้ที่ว่า มันคือถ่านที่เราไว้ย่างปลาอ่ะป่าว ??

  11. patai พูดว่า:

    ครูครับรูปแบบการทดลองผลิตภัณฑ์ของครูมีปัญหาไมครับ
    คือใช้คนดมกลิ่นหรือใช้เครื่องมืออะไรในการตรวจสอบครับ

  12. bam พูดว่า:

    ลืมไปงบประมาณก็ไม่มี

  13. popopo พูดว่า:

    โครงงานดีนะครับคิดค้นเองรึอะ

  14. g[l พูดว่า:

    ขอยืมไปทำโครงงานที่ โรงเรียนหน่อยนะคะ

  15. noi พูดว่า:

    ขอดูรูปหน่อยชิค่ะจะเอาไปทำโครงงาน

  16. กลุ่มนิสิต ม.เกษตร พูดว่า:

    1.ไม่เข้าใจเรื่องกลิ่นอ่าค่ะ คือ การทำแบบนี้ใส่กลิ่นไปได้ด้วยหรอค๊ะ
    2. แล้วถ้าใช้ถ่านเพียงอย่างเดียว ไม่ต้องมีสารส้มประกอบ จะได้ไหมคะ จะสามารถทำให้ลดกลิ่นได้มากกว่า สัดส่วน 20:80 หรือเปล่า

    ขอบคุณมากนะคะ สำหรับข้อมูล พอดีพวกเราเป็นกลุ่มนิสิตจากม.เกษตรศาสตร์ สนใจจะทำผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับตัวนี้ แล้วพอดีมาได้ความรู้จากครูตุ๊ก ยังไงก็ขอนำข้อมูลโครงงาน มาเป็นข้อมูลประกอบการทำรายงานด้วยนะคะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ ^__^

    • krutook11 พูดว่า:

      1.ได้ค่ะ แต่กลิ่นที่ใส่จะไม่ค่อยชัดเจนมากเท่าไรค่ะ

      2..ใส่แต่ถ่านอย่างเดียวค่ะ แต่ไม่ดีเท่าใส่ 2 อย่างค่ะ

    • krutook11 พูดว่า:

      1.ได้ค่ะ แต่กลิ่นที่ใส่จะไม่ค่อยชัดเจนมากเท่าไรค่ะ

      2..ใส่แต่ถ่านอย่างเดียวค่ะ แต่ไม่ดีเท่าใส่ 2 อย่างค่ะ

  17. bam พูดว่า:

    แล้วมีวัถุประสงค์กับที่มามั้ยค่ะเพราะจะพรีเซนต์วันจันทร์แล้ว

  18. bam พูดว่า:

    ช่วยรีบหน่อยนะค่ะ

  19. jeedz พูดว่า:

    ครูตุ๊กค่ะหนูก็นำเรื่องของครูตุ๊กไปศึกษาค่ะอยากทราบว่าสามารถนำอะไรมาปรียบเทียบกับสารส้มและถ่านไม้ค่ะ

    • krutook11 พูดว่า:

      หนูลองหาในเน็ตดูน่ค่ะ ดูพวกสารที่สามารถดูดกลิ่นได้ถ้าเป็นผงๆๆสามารถนำมาเปรียบเทียบได้ค่ะ

  20. pookkie40@hotmail.co.th พูดว่า:

    ขออนุญาตินำไปทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนน่ะ่ค่ะขอบคุณมากค่ะ

  21. Piyasit-Sonkhla พูดว่า:

    ขอยืมไปทำโครงงานที่โรงเรียนได้มั้ยครับ น่าสนใจมากๆ

ส่งความเห็นที่ noi ยกเลิกการตอบ